ความหมายของการบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ ตามประเภทของ สัญญา งาน

รับทำบัญชี.COM | บัญชีต้นทุนงานสั่งทำจะบันทึกบัญชีอย่างไร?

ความหมายของการบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ ตามประเภทของ สัญญา งาน

ความหมายของการบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ (Job order costing) เป็นวิธีการบัญชีต้นทุนอย่างหนึ่ง ที่รวบรวมข้อมูลตามประเภทของงาน สัญญา หรือคำสั่งผลิตแต่ละงานไว้ต่างหากจากกัน ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการคำนวณต้นทุนประเภทนี้ในกิจการโรงพิมพ์ กิจการบริการซ่อมแซม อุตสาหกรรมต่อเรือ และบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วลักษณะของสินค้าที่ผลิตจะถูกกำหนดโดยลูกค้าและจะดำเนินการผลิตก็ต่อเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า

ต้นทุนรวมของงานประกอบด้วย สามารถเข้างานได้โดยตรง

ต้นทุนรวมของงานประกอบด้วย วัตถุดิบ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายโรงงาน ซึ่งสามารถระบุเข้างานแต่ละงานได้โดยตรง ส่วนค่าใช้จ่ายโรงงานที่ไม่สามารถระบุเข้างานแต่ละงานได้โดยตรง จะถูกรวมเป็นต้นทุนของงานแต่ละงานโดยวิธีการปันส่วน สรุป การบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ หมายถึง วิธีการคำนวณต้นทุนการผลิตสินค้าตามที่ลูกค้าสั่ง เหมาะสำหรับกิจการที่รับจ้างทำการผลิตสินค้า ซึ่งสินค้าที่ผลิตจะมีลักษณะแตกต่างกันตามคำสั่งของลูกค้า การรวบรวมต้นทุนจะแยกตามชนิดของสินค้าที่ผลิต โดยสะสมต้นทุนตั้งแต่เริ่มผลิต จนเสร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูป

และเมื่อผลิตเสร็จแล้วจะส่งมอบให้ลูกค้าทันทีไม่มีการเก็บไว้เพื่อขายในภายหลัง การบันทึกบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ ในส่วนของการบันทึกบัญชีสำหรับระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ จะเป็นการบันทึกโดยโอนต้นทุนวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต เข้างานระหว่างทำตามปกติ สำหรับกิจการที่เลือกใช้การบันทึกบัญชีในระบบบัญชีแบบต่อเนื่อง (Perpetual) แต่ถ้ากิจการใดเลือกใช้การบันทึกบัญชีในระบบบัญชีแบบสิ้นงวด (Periodic) ก็ไม่จำเป็นต้องบันทึกโอนบัญชีดังกล่าว การสะสมต้นทุน ตามระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำนั้น

กิจการจำเป็นต้องรวบรวมและสะสมข้อมูลต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นของงานแต่ละชิ้น หรือสินค้าแต่ละรุ่นไว้ใน “บัตรต้นทุนงานสั่งทำ” (Job order sheet) บัตรต้นทุนงานสั่งทำ บัตรต้นทุนงานสั่งทำ หมายถึง บัตรซึ่งใช้ในการบันทึกการเกิดขึ้นของต้นทุนการผลิตอันได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง ค่าใช้จ่ายการผลิต ของงานแต่ละงาน สินค้าแต่ละรุ่น โดยบัตรต้นทุนงานสั่งทำนี้ จะทำหน้าที่เป็นบัญชีย่อยของบัญชีงานระหว่างทำ กล่าวคือ ไม่ว่ากิจการจะรับงานจากลูกค้ามากน้อยเพียงใด กิจการก็จะมี “บัญชีแยกประเภทงานระหว่างทำ” เพียงบัญชีเดียว แต่จะมี “บัตรต้นทุนทุนงานสั่งทำ” ของลูกค้าแต่ละรายประกอบ ดังนั้น ต้นทุนที่เกิดขึ้นในบัตรต้นทุนงานสั่งทำแต่ละใบเมื่อนำมารวมกันแล้ว จะต้องเท่ากับบัญชีคุมงานระหว่างทำ รายละเอียดที่ปรากฏในบัตรต้นทุนงาน โดยส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย ชื่อลูกค้า ลักษณะและรูปแบบของงาน เลขที่งาน(ซึ่งจะมีการกำหนดเมื่อรับงาน) เพื่อความสะดวกในการจดบันทึก และค้นหาข้อมูล วันรับและส่งมอบงาน วันเริ่มและสิ้นสุดการผลิต และที่สำคัญคือ ข้อมูลต้นทุนแต่ละรายการ (วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต)ที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ ในบัตรต้นทุนงานสั่งทำยังต้องแสดงถึงข้อมูลเกี่ยวกับ ราคาขายซึ่งบางกิจการอาจใช้วิธีบวกเพิ่ม(Mark up) จากต้นทุน การผลิต กำไรขั้นต้น ตลอดจนกำไรสุทธิ สินค้าเสียระหว่างกระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ประเภทของสินค้าเสียในทางบัญชีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. สินค้าเสียตามปกติ (Normal Spoilage) หมายถึง สินค้าเสียที่กิจการยอมให้เกิดขึ้นได้ตามกระบวนการผลิตตามจำนวนที่กิจการกำหนด โดยปกติจะกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อหน่วยที่ผลิต ซึ่งจำนวนสินค้าเสียชนิดนี้กิจการยอมรับว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงแม้จะทำงานเต็มประสิทธิภาพแล้ว ส่วนต้นทุนของสินค้าเสียตามปกตินี้จะถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนผลิตภัณฑ์หน่วยดี เพราะถือว่าในการผลิตสินค้าย่อมมีทั้งหน่วยดีและหน่วยเสีย

2. สินค้าเสียเกินปกติ (Abnormal Spoilage) หมายถึง สินค้าเสียที่เกิดขึ้นเกินกว่าจำนวนที่กิจการกำหนดไว้ เป็นสินค้าเสียที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น ถ้ากิจการมีการควบคุมและดูแลการผลิตอย่างดีมีประสิทธิภาพ ก็จะควบคุมและลดจำนวนสินค้าเสียประเภทนี้ลงได้ ส่วนต้นทุนของสินค้าเสียเกินปกติจะถือเป็นผลขาดทุนจากสินค้าเสียเกินปกติ และปรากฏอยู่ในงบกำไรขาดทุน หลักการบัญชีเกี่ยวกับสินค้าเสีย โดยทั่ว ๆ ไป

กิจการจะมีการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาการผลิต ซึ่งสินค้าเสียที่กิจการตรวจพบจะตัดออกจากสินค้าดี และบางครั้งอาจตรวจคุณภาพของสินค้าก่อนเริ่มนำเข้ากระบวนการผลิตก็อาจพบสินค้าเสียในตอนต้นกระบวนการผลิต ดังนั้นกิจการควรวางกฎเกณฑ์การคิดต้นทุนสินค้าเสีย ตามเงื่อนไขที่กำหนด 2 ประการ คือ

1. ระยะเวลาที่พบสินค้าเสีย เวลาที่พบสินค้าเสียจะมีผลต่อการใส่ต้นทุนการผลิตของสินค้า โดยจะระบุในรูปของหน่วยเทียบสำเร็จรูป เพื่อแสดงถึงต้นทุนที่ใช้ไปในการผลิตสินค้าเสีย ซึ่งระยะเวลาในการพบสินค้าเสียจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ

1.1 พบสินค้าเสียเมื่อเริ่มต้นการผลิต ถ้าพบสินค้าเสียในแผนกที่ 1 ไม่ต้องนำเอาสินค้าเสียไปคำนวณหน่วยเทียบสำเร็จรูป วิธีนี้จะกระจายต้นทุนของสินค้าเสียไปรวมเป็นต้นทุนของสินค้าดีโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องรายงานปรับปรุงต้นทุนสินค้าดี ถ้าพบสินค้าเสียตอนต้นกระบวนการผลิตในแผนกที่ 2 ต้นทุนการผลิตในแผนกที่ 2 ยังไม่ได้เกิดขึ้น เนื่องจากกิจการยังไม่ได้ทำการผลิต ดังนั้นจึงไม่มีต้นทุนสินค้าเสียปรากฎในการคำนวณหน่วยเทียบสำเร็จรูป แต่จะมีต้นทุนสินค้าเสียที่รับโอนมาจากแผนกที่ 1 ก่อนที่จะนำมาคิดรวมเป็นต้นทุนของหน่วยดีที่ผลิตเสร็จและงานระหว่างทำปลายงวด

1.2 พบสินค้าเสียระหว่างกระบวนการผลิต สินค้าเสียที่พบระหว่างกระบวนการผลิตจะพบได้ทุกแผนกตามที่กิจการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า ต้นทุนการผลิตสินค้าเสียจะเกิดขึ้นตามที่กิจการใช้ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิต ซึ่งต้นทุนการผลิตสินค้าเสียจะปรากฎในการคำนวณหน่วยเทียบสำเร็จรูปตามส่วนที่พบสินค้าเสีย

1.3 พบสินค้าเสียตอนสิ้นกระบวนการผลิต กิจการได้ทำการผลิตสินค้าเสร็จแล้วพร้อมที่จะโอนไปผลิตในแผนกถัดไป หรือโอนไปเป็นสินค้าสำเร็จรูป จึงมีการตรวจสอบคุณภาพอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพบสินค้าเสียจึงตัดออก ดังนั้นสินค้าเสียที่พบจะปรากฏในการคำนวณหน่วยเทียบสำเร็จรูป โดยมีต้นทุนการผลิตเต็ม 100 % เช่นเดียวกับหน่วยที่ผลิตเสร็จ เนื่องจากได้ผลิตเสร็จพร้อมกับหน่วยดีที่ผลิตเสร็จ แล้วนำมาคัดออกในภายหลัง

2.จำนวนที่ใช้ต้นทุนการผลิต คือ วัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายการผลิต จะต้องนำมาพิจารณาเพื่อใช้ในการคำนวณหน่วยเทียบสำเร็จรูป ซึ่งหลักในการพิจารณา มี 2 ประเภท คือ

2.1 กิจการใส่วัตถุดิบตอนต้นกระบวนการผลิตส่วนค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายการผลิตใส่ สม่ำเสมอตลอดกระบวนการผลิต

2.2 กิจการใส่วัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายการผลิตสม่ำเสมอตลอดกระบวนการผลิต จากหลักการบัญชีเกี่ยวกับการพบสินค้าเสียดังกล่าว จึงเป็นเงื่อนไขในการแบ่งสรรต้นทุนของสินค้าเสียตามปกติให้เป็นต้นทุนการผลิตของสินค้าดีโดย

1). ถ้าสินค้าเสียถูกพบตอนต้นกระบวนการผลิต หรือระหว่างกระบวนการผลิต ต้นทุนของสินค้าเสียที่คำนวณได้จะถูกแบ่งให้เป็นต้นทุนของหน่วยที่ผลิตเสร็จ และต้นทุนของงานระหว่างทำปลายงวด ถ้าพบสินค้าเสียตอนสิ้นกระบวนการผลิต ต้นทุนของสินค้าเสียตามปกติจะให้รวมเป็นต้นทุนของหน่วยที่ผลิตเสร็จทั้งหมด โดยไม่ต้องแบ่งให้งานระหว่างทำปลายงวด

ความหมายของการบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ ตามประเภทของ สัญญา งาน

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )